top of page

แนะนำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม หกล้ม

อุบัติเหตุหกล้ม ลื่นล้ม คือเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เราไม่ระมัดระวัง และยังส่งผลให้อาจเกิดการบาดเจ็บได้ตั้งแต่แผลเล็กๆ อย่างการฟกช้ำ ถลอก ไปจนถึงบาดแผลใหญ่ที่มีความรุนแรง 

ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ลื่นล้มกระแทกพื้น เราควรปฐมพยาบาลและดูแลบาดแผลแต่ละระดับอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บให้ดีขึ้น


ลื่นล้มกระแทกพื้น ปฐมพยาบาล

เมื่อเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม หกล้ม มีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

เมื่อเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม หกล้ม หรืออุบัติเหตุอื่น ๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือสิ่งที่เราควรทำเป็นอันดับแรก เพื่อช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บให้ทุเลาลง โดยสามารถแบ่งเป็นความรุนแรง 2 ระดับ ดังนี้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับบาดแผล และอาการบาดเจ็บที่ “ไม่รุนแรง”

ก่อนเริ่มต้นปฐมพยาบาลให้กับผู้บาดเจ็บ เราควรสังเกตบาดแผลให้แน่ใจก่อนว่า มีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เราสามารถดูแลบาดแผลได้อย่างเหมาะสม

บาดแผลฟกช้ำ มีอาการบวมในบริเวณที่กระแทก

บาดแผลฟกช้ำ มักเกิดจากการถูกกระแทก เช่น ชน หกล้ม หรือกระแทก เป็นต้น เนื้อเยื่อภายนอกไม่ฉีกขาด มีลักษณะเป็นรอยช้ำ บวม แดง ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายในและเส้นเลือดฝอย ซึ่งการปฐมพยาบาลบาดแผลลักษณะดังกล่าวสามารถทำได้โดยการประคบเย็นเบา ๆ เพื่อให้เลือดออกน้อยลง โดยอาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็น ผ้าห่อน้ำแข็ง หรือเจลเย็น

ข้อควรระวัง หากแผลดังกล่าวอยู่บริเวณที่เคลื่อนไหวได้ เช่น ข้อศอก นิ้วมือ หรือเข่า ผู้ปฐมพยาบาลควรใช้ผ้าที่มีความยืดหยุ่นพันรอบบาดแผล เพื่อลดแรงกดทับและการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจส่งผลต่อกระดูกและความรุนแรงได้

บาดแผลถลอก มีเลือดออก

บาดแผลถลอก มีเลือดออก มักมีสาเหตุจากการสะดุดล้ม ซึ่งทำให้ผิวหนังชั้นนอกถูกขีดข่วน จนเกิดบาดแผลภายนอก โดยอาจมีความรุนแรงไปตั้งแต่ผิวหนังถลอก ไม่มีเลือด ไปจนถึงมีเลือดออก ซึ่งการปฐมพยาบาลบาดแผลลักษณะดังกล่าวควรล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด นำสิ่งสกปรกออก ฆ่าเชื้อโรคด้วยแอลกอฮอล์รอบบาดแผล และใส่ยาเพื่อสมานบาดแผล

ข้อควรระวัง ถึงแม้ว่าเราไม่จำเป็นต้องปิดบาดแผลเป็นระยะเวลานาน แต่หากว่าผู้บาดเจ็บมีแผลบริเวณเท้า ผู้ปฐมพยาบาลควรปิดบาดแผลด้วยผ้าก๊อซสะอาดเผื่อป้องกันฝุ่นละอองต่าง ๆ ควรระวังไม่ให้บาดแผลโดนน้ำ และไม่สัมผัส เกา หรือแกะบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ


ข้อเท้าเคล็ด ข้อเท้าแพลง

ข้อเท้าเคล็ด ข้อเท้าแพลง

การหกล้ม ลื่นล้ม อาจทำให้ ข้อเท้าเคล็ดหรือ ข้อเท้าแพลง ได้ง่าย ซึ่งเกิดจากการเดินผิดท่าทาง จนข้อเท้าหมุน บิด และผิดจากท่าทางปกติ ส่งผลทำให้ข้อเท้าเกิดบวม แดง ปวด เจ็บ หรือฟกช้ำ เราควรปฐมพยาบาลด้วยการยกเท้าขึ้นสูง ประคบด้วยความเย็นอย่างน้อย 20 นาที ยึดข้อเท้าให้นิ่ง และลดการบีบอัดบริเวณข้อเท้า เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเพิ่มขึ้น

ข้อควรระวัง ระมัดระวังและสังเกตบาดแผลขณะเคลื่อนไหว หากมีอาการปวด บวม แดงมากขึ้น อาจแสดงถึงภาวะกระดูกหักร่วมด้วย ผู้บาดเจ็บควรรีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดอีกครั้ง

เลือดกำเดาไหล

เลือดกำเดาไหล อาการที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อจมูกได้รับการกระทบกระเทือน จนเส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดไหล ผู้ปฐมพยาบาลควรจัดท่าทางให้ผู้ป่วยเอนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย บีบปลายจมูกพร้อมหายใจทางปาก เป็นเวลา 10 นาที จำนวน 2 ครั้ง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกมาให้บ้วนลงในอ่างหรือภาชนะ ประคบเย็นบริเวณสันจมูกและหน้าผาก หลังจากนั้นจึงใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดบริเวณจมูกและปาก

ข้อควรระวัง ไม่ควรแกะ แคะ ล้วง หรือขยี้จมูกขณะเลือดไหล เพราะอาจทำให้มีเลือดออกเพิ่มขึ้น และหากเวลาผ่านไปผู้ป่วยยังมีอาการเลือดไหลให้รีบพาส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพราะอาจแสดงถึงความอันตรายอื่น ๆ

แนวทางการปฐมพยาบาล และปฏิบัติเมื่อมีอาการบาดเจ็บ “รุนแรง”

ในอุบัติเหตุลื่นล้ม หกล้ม กระแทกพื้น จนบาดแผลมีความรุนแรง ผู้ปฐมพยาบาลควรศึกษาขั้นตอน และข้อควรระวังในการดูแลบาดแผลเบื้องต้นเพิ่มมากขึ้น เพราะอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงมากกว่าบาดแผลทั่วไป

บาดแผลฉีกขาดลึก มีเลือดออกมาก

เมื่อเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม และตัวผู้บาดเจ็บกระแทกเข้ากับสิ่งข้างบริเวณรอบ ร่างกายอาจเกิดบาดแผลฉีกขาด และเสียเลือดมากได้ โดยลักษณะของบาดแผลมักลึก เห็นเนื้อเยื่อฉีกขาดชัดเจน และมีเลือดออกมาก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • จำเป็นต้องได้รับการ ปฐมพยาบาลจากผู้เชี่ยวชาญ มีความอันตรายถึงชีวิต

  • สามารถ ปฐมพยาบาลได้ด้วยตนเอง แต่นำไปสู่การติดเชื้อได้หากไม่ระมัดระวัง ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เช็ดแผลให้แห้ง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยครีมหรือยา และปิดแผลด้วยปลาสเตอร์หรือผ้าก๊อซ

ข้อควรระวัง เนื่องจากการปิดแผลเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดความชื้นและเป็นอันตรายต่อแผลบาดเจ็บได้ เราจึงควรหมั่นเปลี่ยนวัสดุปิดแผลเป็นประจำเพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อ และหากว่าบาดแผลมีความรุนแรงมากควรรีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน


บาดแผลกระดูกหัก

บาดแผลกระดูกหัก

บาดแผลกระดูกหัก คืออาการบาดเจ็บที่รุนแรงมากที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม หกล้ม กระแทกพื้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ

  • กระดูกหักแบบเปิด มีบาดแผลเปิดตั้งแต่เนื้อเยื่อไปจนถึงกระดูกด้านใน มองเห็นปลายกระดูก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

  • กระดูกหักแบบปิด ไม่มีบาดแผลภายนอก ทำให้สามารถมองเห็นได้ยาก เราสามารถสังเกตจากอาการอื่น ๆ ได้แก่ ปวดกระดูกและบริเวณรอบ โดยเฉพาะขณะเคลื่อนไหว ผิวหนังบวม มีรอยช้ำ อวัยวะผิดรูป ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และมีอาการชา

ข้อควรระวัง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกระดูกหัก เราไม่ควรปฐมพยาบาลด้วยตนเอง หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และเรียกรถพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพื่อปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง มิเช่นนั้นอาจทำให้บาดแผลรุนแรงมากยิ่งขึ้น 

อาการแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์

หลังเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ลื่นล้ม กระแทกพื้น และได้รับการปฐมพยาบาลเรียบร้อยแล้ว เราควรสังเกตผู้ประสบเหตุว่ามีอวัยวะใดได้รับผลกระทบเป็นพิเศษหรือไม่ และหากมีอาการเหล่านี้ ผู้ช่วยเหลือควรรีบพาผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

  • ง่วงหรืออ่อนเพลียเป็นพิเศษ 

  • วิงเวียนศีรษะและอาเจียน 

  • ปวดศีรษะ คอ หลัง หรือบริเวณที่กระทบกระเทือนอย่างรุนแรง

  • ไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ

  • มีปัญหาด้านการมองเห็น หรือมองเห็นไม่ชัด เลือนราง

  • มีเลือดออกบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง

  • มีปัญหาด้านการหายใจ เช่น หายใจไม่ออก หยุดหายใจ

  • หมดสติ

  • ชักเกร็ง

ป้องกันการลื่นล้มกระแทกพื้นด้วยน้ำยากันพื้นลื่น Biopox

อุบัติเหตุในบ้าน คือสิ่งที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลและดูแลอย่างรวดเร็ว รวมถึงควรมีการป้องกันเป็นพิเศษเพราะเหตุการณ์เพียงเล็กน้อยนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในด้านอื่น ๆ ได้ ซึ่งอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นมีทั้งการลื่นล้มตกบันได การหกล้มในผู้สูงอายุ การล้มในห้องน้ำ หรือลูกล้มหัวฟาดพื้น และมักมีเกิดขึ้นจากความลื่นของพื้น

ดังนั้นถ้าหากว่าคุณต้องการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการลื่นล้ม หกล้ม Biopox คือน้ำยากันลื่นที่สามารถเข้ามาเพิ่มความปลอดภัยในบ้านของคุณได้ เพราะเราคือน้ำยาที่ช่วยเพิ่มค่ากันลื่นให้ตรงตามมาตรฐานยุโรป และยังไม่ทำให้พื้นบ้านของคุณเปลี่ยนสีไป ด้วยเทคโนโลยีเม็ดทรายใส ที่เพิ่มความหยาบและแรงยึดเกาะให้กับพื้นผิวอย่างมีประสิทธิภาพพื้นที่แห้งและเปียก

ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page